grow_for_princess

หมวดของกระทู้ จำนวนกระทู้ จำนวนผู้ตอบ

ร้องทุกข์ / ร้องเรียน / แจ้งปัญหาทุจริต 0 0

โปรแกรมระบบบัญชีที่พัฒนาโดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ / Smart ME / Smart4M / ครูบัญชีอาสา 0 0


สตส.ตาก ร่วมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2566 อำเภอท่าสองยาง

     วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 นายวันชัย แสงนาค หัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ตาก มอบหมายให้ นางสาวอาริสา วัตละยาน พร้อมคณะ เข้าร่วมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2566 ณ ศูนย์เรียนรู้เชิงเกษตรและวัฒนธรรม บ้านขุนห้วยแม่ต้าน หมู่ 6 ตำบลแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก จัดโดยสำนักงานเกษตรอำเภอท่าสองยาง โดยมี นายยงยุทธ สุขสิริ นายอำเภอท่าสองยาง เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย นายสุเชษฐ อินเจือจันทร์ เกษตรอำเภอท่าสองยาง นางสาวอังคณา ศักดิ์ชัยบูรณ์ กำนันตำบลแม่ต้าน เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอท่าสองยาง เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำท้องถิ่น และเกษตรกรในพื้นที่ เข้าร่วมกิจกรรม

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัด ร่วมกันจัดกิจกรรมวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ หรือที่เรียกว่า งานวัน Field Day เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้เข้ามาเรียนรู้ รับทราบเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ ช่องทางการตลาด ข้อมูลข่าวสาร การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรด้วยกันเอง รวมทั้งนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ การจัดงาน Field day ใช้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือ ศพก. เป็นสถานที่จัดงาน และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตร ที่มีเกษตรกรผู้นำเป็นผู้บริหารจัดการ ภายใต้การสนับสนุนของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การจัดงาน Field day จึงเป็นสัญญาณของการเริ่มต้นฤดูการผลิตใหม่ ที่เหมาะสมของเกษตรกร

สำหรับการจัดงานวัน Field Day ณ ศูนย์เรียนรู้เชิงเกษตรและวัฒนธรรม บ้านขุนห้วยแม่ต้าน ตำบลแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ในวันนี้ได้นำเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำนวน 5 ฐานเรียนรู้เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้ คือ
1. ฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง/เกษตรผสมผสาน โดยศพก. หลักอำเภอท่าสองยาง ศูนย์เรียนรู้เชิงเกษตรและวัฒนธรรม และสำนักงานเกษตรอำเภอท่าสองยาง
2. ฐานเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ โดยสารเร่ง พด. การตรวจวิเคราะห์ดิน โดย สถานีพัฒนาที่ดินตาก
3. ฐานเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดโดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก (ดอยมูเซอ)
4. ฐานเรียนรู้ที่การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน IPM ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดย สำนักงานเกษตรจังหวัดตาก
5. ฐานเรียนรู้การจัดทำบัญชีต้นทุนอาชีพ และบัญชีรายรับรายจ่ายในครัวเรือน โดย สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ตาก

นอกจากนี้ ยังมีการจัดเสวนาในหัวข้อ "หมอกควัน ไฟป่า ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ใครทำ ใครผิด ใครรับผิดชอบ” เรื่องที่ 1 กฎหมาย ผู้เสวนาจากสถานีตำรวจภูธรท่าสองยาง เรื่องที่ 2 ความรับผิดชอบจากผู้เสวนาสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ อำเภอท่าสองยาง และเรื่องที่ 3 ผลกระทบ จาก ผู้เสวนาสำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าสองยาง และมีจุดบริการน้ำดื่มจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร การจัดงานในครั้งนี้ มีเกษตรกรในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงมาร่วมงาน ประมาณ ๘๐ คน

สำหรับ ศูนย์เรียนรู้เชิงเกษตรและวัฒนธรรม บ้านขุนห้วยแม่ต้าน เป็นศูนย์เครือข่าย ศพก. ประเภทศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรผสมผสาน จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2565 โดยผลผลิตหลักเป็นไม้ผลเช่น ขนุน แก้วมังกร กล้วยน้ำว้า พืชผักต่างๆตามฤดูกาล และยังมีการเลี้ยงปลานิล เลี้ยงไก่ และเลี้ยงวัว เทคโนโลยีเด่นของศูนย์เครือข่าย คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และการทำเกษตรผสมผสาน โดยมีการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

FONTSIZE
ภารกิจของกรมตามกฎกระทรวง
สายตรงอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
 
มีอะไร ? ที่ไหน ?
แจ้งข่าวประจำวัน
ข้อถาม-ตอบ Q&A
เว็บบอร์ดซอฟแวร์บัญชี
ระบบสืบค้นข้อมูลข้าราชการ
ประกาศจัดซื้อ/จัดจ้าง
สมุดบัญชี-รับจ่ายในครัวเรือน
ระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
 
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
0050231